วัฒนธรรมและประเพณี

                                       วัฒนธรรมและประเพณี
ประชากรส่วนมากเป็นชาวพื้นเมือง ที่อพยพมาจาก จังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่ (ไทยวน) จังหวัดลำพูน (ไทยอง) ประมาณร้อยละ 75 นอกนั้นเป็น ชาวเขา เช่น ปกากะญอ(กะเหรี่ยง) ม้ง เย้า อาข่า มูเซอดำ ลีซอ ศาสนาที่นับถือกันคือ ศาสนาพุทธ รองลงมาเป็นคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก และโปแตสแตนต์ ประเพณีที่สำคัญทางพุทธศาสนาก็คือ ประเพณีตานก๋วยสลาก ปอยหลวง สรงน้ำพระธาตุต่าง ๆ จะมีขึ้นในวันเพ็ญเดือน 6 ส่วนประเพณีท้องถิ่นจะมีก่อนวันเพ็ญเดือน 7 ประมาณ 1-2 วัน เช่น การลงผีมด ( เป็นการเข้าทรงของเทวาอารักษ์ประจำหมู่บ้าน) การฟ้อนผีเม็ง ( เป็นการเข้าทรงของเทวาอารักษ์ที่อาศัยอยู่สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ) การไหว้ผีปู่ย่า ( ผีบรรพบุรุษ ) ส่วนวัฒนธรรมในการดำรงชีพ เช่น การกิน การอยู่อาศัย มีลักษณะคล้ายคลึงกันทั่วไปในภาคเหนือล้านนา
มีการก่อสร้างมัสยิดในเขตตำบลแม่เจดีย์ใหม่ ทั้ง ๆ ที่ไม่มีศาสนิก ชุมชนมุสลิม หรือสัปบุรุษในพื้นที่เลย[6] สร้างความไม่พอใจแก่กลุ่มชาวบ้าน และเกิดการต่อต้านจากกลุ่มชาวพุทธในพื้นที่

               สงกรานต์ ประเพณีปี๋ใหม่เมือง ๒๕๕๘





เมื่อวันที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๕๘ ทางองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง ร่วมกับสภาวัฒนธรรมตำบลบ้านโป่ง จักงานสืบสานประเพณีปีใหม่เมือง ณ ศูนย์ฝึกอาชีพสตรีอำเภอเวียงป่าเป้า ภายในงานจัดกิจกรรม สงน้ำพระ รดน้ำขอพรผู้สูงอายุ การประกวดเทพีสงกรานต์ และการแสดงของแต่ละหมู่บ้าน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น