อาหารพื้นเมือง

                                             อาหารพื้นเมือง
                                               แกงฮังเล
    แกงฮังเล บางแห่งก็เรียกว่า แกงฮินเล หรือ แกงฮันเล มีอยู่ ๒ ชนิด คือ แกงฮังเลม่าน และ แกงฮังเลเชียงแสน เชื่อกันว่าแกงฮังเลเป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลมาจากพม่าในสมัยอดีต จากการศึกษาของอุบลรัตน์ พันธุมินทร์ จากแหล่งข้อมูลพุกาม พบว่าแกงที่ชาวพม่าเรียกว่า “ ฮินแล หรือ “ ฮังแล ” นั้นเป็นแกงอย่างเดียวกับที่ชาวล้านนาเรียกว่า “ แกงโฮะ ” ส่วนแกงอย่างที่ชาวล้านนาเรียก “ ฮินแล ” หรือ “ ฮังแล ” นั้น
ชาวพม่าเรียก “ แวะตาฮีน ” ซึ่งแปลว่าแกงหมู 

                                                    แกงโฮ๊ะ

            จาก     http://www.siammoo.com/show_food.php?id=27
แกงโฮะ คำว่า “โฮะ” แปลว่า รวม คือการนำเอาอาหารหลายๆ อย่างมารวมกัน ในสมัยก่อนแกงโฮะมักจะทำจากอาหารที่เหลือหลายๆ อย่างรวมกัน โดยอาจมีการปรุงรสตามใจชอบ หรือ เติมบางอย่าง เช่น วุ้นเส้น หน่อไม้ และแต่งกลิ่นโดยใส่ใบมะกรูด ตะไคร้ (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 490) ปัจจุบัน นิยมใช้ของสดในการปรุง และใช้แกงฮังเลเป็นเครื่องปรุง 

                                                                              ข้าวซอย 



 ข้าวซอย   คือ อาหารพื้นเมืองทางภาคเหนือของประเทศไทย เดิมเรียกว่า ก๋วยเตี๋ยวฮ่อ เป็น อาหารที่คล้ายเส้นบะหมี่ ในน้ำซุปที่ใส่เครื่องแกง รสจัดจ้าน ในตำรับดั้งเดิม ข้าวซอยจะมีส่วนประกอบของเนื้อหมูหรือเนื้อไก่หรือเนื้อวัว มีเครื่องเคียงได้แก่ ผักกาดดอง หอมหัวแดง และมีเครื่องปรุงรส ข้าวซอยเป็นอาหารพื้นบ้านของชาวเหนือที่หลายคนรู้จักเป็นอย่างดี และคงมีอีกไม่น้อยที่ชื่นชอบอาหารจานนี้ เป็นอาหารพื้นเพที่มาจากชาวมุสลิม จะสังเกตง่ายๆ จากวัตถุดิบที่ประกอบในข้าวซอยจะใช้เนื้อไก่และเนื้อวัวเป็นส่วนผสมหลัก 
   ขนมจีนน้ำเงี้ยว  

                       จาก     http://pantip.com/topic/32849855

 ขนมจีนน้ำเงี้ยว 
เป็นอาหารยอดนิยมของคนล้านนา มานาน ประกอบด้วยเส้นขนมจีน,เลือดหมูเนื้อหมูมะเขือเทศ เป็นหลัก มีทั้งสูตรเชียงราย (ใส่ดอกงิ้ว)สูตรเชียงใหม่(ใส่เต้าเจี๊ยว)สูตรลำปาง(ใส่ถั่วเน่า)สูตรแพร่(เป็นแบบน้ำใส) 

น้ำพริกอ่อง


น้ำพริกอ่อง นับเป็นน้ำพริกพื้นบ้านล้านนาที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายพอๆ กับน้ำพริกหนุ่ม ลักษณะเด่นของน้ำพริกอ่อง คือมีสีส้มของสีมะเขือเทศและพริกแห้ง ที่เคี่ยวจนเป็นน้ำขลุกขลิก มีน้ำมันลอยหน้าเล็กน้อย มีสามรส คือ เปรี้ยว เค็ม เผ็ด เล็กน้อย และรสหวานตาม นิยมรับประทานกับผักสดหรือผักต้มก็ได้ (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, หน้า 3258; อัมพร โมฬีพันธ์, สัมภาษณ์, 6 กรกฎาคม 2550) บางสูตร ผัดหมูก่อนแล้ว จึงตามด้วยเครื่องปรุงและมะเขือเทศภายหลัง บางสูตร โขลกเนื้อหมู เครื่องปรุงและมะเขือเทศให้เข้ากันก่อน จึงนำไปผัดกับน้ำมันพืช บางสูตร ใส่ถั่วเน่าแข็บหรือใส่เต้าเจี้ยว ในการปรุงรสเป็นต้น

                                      

พริกหนุ่ม

 พริกหนุ่ม คือพริกสดที่ยังไม่แก่จัด น้ำพริกหนุ่ม เป็นน้ำพริกที่มีลักษณะข้น เป็นอาหารพื้นบ้านล้านนาที่รู้จักกันทั่วไป มีจำหน่ายแพร่หลายแก่นักท่องเที่ยว นิยมซื้อเป็นของฝาก รับประทานกับแคบหมู บางสูตรใส่ปลาร้าสับ และกะปิห่อใบตองย่างไฟ บางสูตรใส่น้ำปลากับเกลือ แล้วแต่ชอบ(เสาวภา ศักยพันธ์ และยุพยง วิจิตรศิลป์, 2538, หน้า 84; รัตนา พรหมพิชัย, 2542, หน้า 3257

 จาก http://library.cmu.ac.th/ntic/lannafood/detail_lannafood.php?id_food=26


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น